Lesson


การออกแบบกราฟิกสำหรับเว็บไซต์
ระบบการวัดชนาดของรูปภาพ
        เมื่อจอมอนิเตอร์ทำการแสดงผลรูปภาพในเว็บเพจ พิกเซลในรูปภาพจะจับคู่กันแบบหนึ่งต่อหนึ่งกับพิกเซลตามความละเอียดของหน้าจอ ทำให้หน่วยการวัดรูปภาพในเว็บจึงเป็นพิกเซล ไม่ใช่นิ้วหรือเซ็นติเมตรแต่อย่างใด ดังนั้นในกระบวนการ ออกแบบกราฟิกและรูปภาพต่างๆ คุณจึงความลดขนาดเป็นพิกเซลไว้เสมอ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเปรียบเทียบขนาดกราฟิกกับองค์ประกอบอื่นๆ ในหน้าเว็บ รวามถึงขนาดวินโดว์ของบราวเซอร์อีกด้วย
ระบบการวัดความละเอียดของรูปภาพ
         เนื่องจากรูปภาพในเว็บโดยส่วนใหญ่จะถูกสแดงผ่านหน้าจอมอนิเตอร์ ในทางเทคนิคที่ถูกต้องแล้ว ระบบการวัดความละเอียดของรูปภาพจึงต้องเป็น “Pixels per inch” (ppi) แต่ก็มีระบบการวัดอีกแบบหนึ่งคือ “Dot per inch (dpi) ที่ใช้ความละเอียดของรูปถาพที่พิมพ์ออกมา ซึ่งความละเอียดที่ได้จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่องพิมพ์แต่ละเครื่องในทางปฏิบัติ หน่วยppi กับ dpi อาจใช้แทนกันได้ ทำให้เป็นที่ยอมรับว่าความละเอียดของรูปภาพในหน้าจอมีหน่วยเป็น dpi แทนท่จะเป็น ppi ที่ถูกต้อง

ความละเอียดของรูปภาพ
          โดยปรกติแล้ว รูปภาพทุกรูปในเว็บไซท์ควรจะมีความละเอียดแค่ 72 ppi ก็ เพียงพอแล้ว เรื่องจากจอมอนิเตอร์องผู้ใช้ส่วนใหญ่มีความละเอียดต่ำ (72 ppi) ดังนั้นแม้ว่ารูปภาพจะมีความละเอียดสูงกว่านี้เราก็ไม่อาจมองเห็นความแตกต่างได้
           เมื่อเปรียบเทียบความละเอียดของรูปภาพในเว็บกับในสิ่งพิมพ์ คุณจะเห็นความแตกต่างกันว่ารูปภาพในเว็บมีคุณภาพที่ต่ำกว่า เนื่องจากมีข้อมูลและรายละเอียดของรูปภาพที่น้อยกว่าทำให้รูปที่ได้มองดูมีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ ซึ่งถือเป็นธรรมชาติของรูปภาพในเว็บ

ปัญหาเกี่ยวกับขนาดไฟล์ของกราฟิก
            แม้ว่ากราฟิกและรูปภาพต่างๆ จะช่วยสึความหมายและสร่างประโยชน์อีกหลายอย่าง เราควรรู้ถึงข้อเสียของกราฟิกเหล่านี้ไว้บ้าง โดยปรกติ แล้วข้อมูลในเว็บไซท์ประกอบด้วยไฟล์ HTML ที่เป็นตัวอักษร และกราฟิกหรือรูปภาพเป็นสิ่งสำคัญ กราฟิกใช้เวลาในการดาวน์โหลดมาก กว่าตัวอักษรหลายเท่า ดังนั้นกราฟิกขนาดใหญ่อาจใช้เวลาในการสแดงผลนานมาก เมื่อผู้ใช้ระบบการเชื่อต่อกับอินเตอร์เน็ทที่ค่อนข้างช้า
             แม้ว่ากราฟิกของคุณจะออกแบบมาอย่างดีเพียงใด ถ้าต้องใช้เวลาในการโหลดนาน จรทำให้ผู้ใช้รู้สึกหงุดหงิด และเปลี่ยนใจไม่รอดูรูปเหล่านั้นสิ่งที่คุณทุ่มเทออกไปไว้ก็จะมีมีความหมาย เพื่อป้องกันปัญหาความล่าช้านี้เราจึงต้องทำการลดขนาดไฟล์กราฟิกลงให้เล็กเข้าไว้ก่อน

ลดขนาดไฟล์กราฟิกสำหรับเว็บ (Optimizing Web Graphic)
               ปัญหาความเชื่องช้าของอินเตอร์เน็ททำให้ผู้ออกแบบเว็บไซท์ต้องระมัดระวังในเรื่องของเวลาที่ใช้ในการดาวน์โหลดเป็นอย่างมาก แนวทางง่ายๆ สำหรับผู้มีหน้าที่ออกแบบกราฟิกำหรับเว็บก็คือพยายามทำให้กราฟิกมีขนาดเล็กมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
               ทั้งนี้ผู้ออกแบบต้องรู้จักที่จะสร้างความสมดุลระหว่างความสวยงามกับความเร็วในการแสดงผลเรื่องจากการสร้างเว็บโดยไม่มีรูปภาพกราฟิกใดๆ เลยย่อมไม่น่าสนใจ เพราะกราฟิกมีบทบาทสำคัญในการแนะนำ และสร้างความบันเทิงต่อผู้ชม ดังนนั้นแนวทางที่ดีที่สุดคือการสร้างเว็บที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้กราฟิกที่แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว
                การ Optimize กราฟิกจะช่วยลดขนาดไฟล์ให้เล็กลงได้ทำให้แสดงผลได้เร็วขึ้น และทำให้การปราฏของสีอย่างถูกต้องในหน้าจอของผู้ใช้


**************************************************

ออกแบบเนวิเกชันสำหรับเว็บ

ความสำคัญของระบบเนวิเกชัน

      ในชีวิตจริงของเราบางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องขับรถไปในที่ๆ ไม่เคยไปมาก่อน สิ่งที่ทุกคนปราถนาคือการไปถึงที่หมายโดยไม่หลงทางเพราะนอกจากจะทำให้เราไปไม่ถึงที่หมาย เสียเวลาเสียพลังงานแล้วยังอาจทำให้อารมณ์เสียได้อีก โชคดีที่เรามีระบบการป้องกันการจราจรที่ดี เช่นป้ายแสดงชื่อถนน ป้ายแสดงชื่อทางแยก สิ่งเหล่านี้เมื่อนำมาใช้ปะกอบกันก็จะช่วยให้เรารู้ตำแหน่งปัจจุบันและทิศทางไปสู่จุดหมายได้

                               

          เช่นเดียวกับโลกอินเตอร์เน็ท ที่คุณอาจหลงทางในเว็บไซท์บางแห่งเพราะขาดระบบการนำทางที่ดีทำให้เกิดความรู้สึกสับสนและไม่พอใจ ขณะที่การออกแบบโครงสร้างข้อมูลที่ดีช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น ส่วนระบบนิเนวิเกชั่นเป็นส่วนเสริมในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่สื่อความหมาย เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ท่องเว็บได้อย่างคล่องตัวโดยไม่หลงทาง ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสบายขณะที่ท่องเว็บ โดยสามารถรู้ว่าตัวเองกำลังอยู่ที่ไหน ได้ผ่านที่ใดมาบ้าง และควรจะไปทางไหนต่อ

          การเข้าถึงข้อมูลอย่างสะดวกเป็นหัวใจสำคัญของระบบเนวิเกชั่น การมีเนื้อหาในเว็บไซท์ที่ดีจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอแต่เนื้อหานั้นจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าผู้ใช้ค้นหาสิ่งที่ต้องการไม่พบ ความสำเร็จของเว็บไซท์ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้ใช้สามารถพึ่งพาระบบเนวิเกชั่นในการนำทางไปถึงที่หมายได้

           ระบบเนวิเกชั่นนั้นอาจประกอบด้วยองค์ประกอบหลายๆ อย่าง เช่นเนวิเกชันบาร์ หรือ pop-up menu ซึ่งมักจะมีอยู่ในทุกๆ หน้าของเว็บเพจ และอาจอยู่ในหน้าเฉพาะที่มีรูปแบบป็นระบบสารบัญ ระบบดัชนี หรือ site map ที่สามารถให้ผู้ใช้คลิกผ่านโครงสร้างข้อมูลไปยังส่วนอื่นๆได้ การเข้าใจถึงรูปแบบและองค์ประกอบของระบบเนวิเกชั่นเหล่านี้ จะทำให้คุณออกแบบระบบเนวิเกชันด้วยองค์ประกอบที่เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปแบบของเนวิเกชัน

        ระบบเนวิเกชันสำหรับเว็บไซท์ขนาดใหญ่มักใช้หลายรูปแบบร่วมกันเพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลให้มากขึ้น ซึ่งผู้ออกแบบควรมีความเข้าใจและเลือกใช้อย่างเหมาะสม โดยไม่ให้หลากหลายหรือจำกัดเกินไป

ระบบเนวิเกชั่นแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบดังนี้

ระบบเนวิกเกชั่นแบบลำดับขั้น (Hierarchical)

ระบบเนวิกเกชันแบบโกลบอล (Global)

ระบบเนวิกเกชั่นแบบโลคอล (Local)

ระบบเนวิกเกชันแบบเฉพาะที่ (Ad Hoc)

องค์ประกอบของระบบเนวิกเกชันหลัก (Main Navigation Elements)

         ระบบเนวิกเกชันที่สำคัญและพบได้มากที่สุดคือ เนวิเกชันที่อยู่ในหน้าเดียวกับเนื้อหา ไม่ใช่เนวิกเกชันที่อยู่ในหน้าแรก เนื่องจากเมื่อผู้ใช้ผ่านหน้าแรกเข้าไปสู่ภายในเว็บไซท์แล้ว ก็ไม่อยากจะกลับมาเริ่มต้นใหม่ที่หน้าแรกทุกครั้งก่อนจะเข้าไปดูเนื้อหาในส่วนอื่นๆต่อ ระบบเนวิเกชันหลักทั้งแบบโกบอลและแบบโลคอล จึงช่วยให้ผู้ใช้สามารถย้ายจากหน้าใดๆ ไปสู่ส่วนอื่นในเว็บไซท์ได้อย่างคล่องตัว องค์ประกอบของเนวิกเกชันมีได้หลายรูปแบบ ได้แก่ เนวิเกชั่น,บาเนวิเกชั่นเฟรมPull down, menu, pop-up menu, Imagemap และsearch box เนวิเกชันบาร์ (Nevigation Bar)

          เนวิเกชันบาร์เป็นระบบพื้นฐานที่ใช้ได้หลายรูปแบบทั้งแบบลำดับชั้น  แบบโกลบอล  และแบบโคบอล  โดยทั่วไปเนวิเกชันบาร์จะประกอบด้วยกลุ่มของลิงค์ต่าง ๆ  ที่อยู่รวมกันในบริเวณหนึ่งของหน้าเว็บ  โดยอาจจะเป็นตัวหนังสือหรือกราฟิกก็ได้  และถือเป็นรูปแบบของระบบเนวิเกชันที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

เนวิเกชันบาร์ระบบเฟรม (Frame-Based)

           การสร้างเนวิเกชันบาร์โดยใช้ระบบเฟรมเป็นอีกวิธีที่ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเนวิเกชันได้ง่าย และสม่ำเสมอ  คุณสมบัติของเฟรมจะทำให้คุณสามารถแสดงเว็บหลาย ๆ  หน้าไว้ในหน้าต่างบราวเซอร์เดียวกัน  โดยที่แต่ละหน้ายังเป็นอิสระต่อกัน  การลิงค์จากเฟรมที่เป็นเนวิเกชันบาร์สามารถควบคุมการแสดงผลของข้อมูลในอีกเฟรมหนึ่งได้  ดังนั้นส่วนที่เป็นเนวิเกชันบาร์จะปรากฏอยู่คงที่เสมอ  ในขณะที่ผู้ใช้เลื่อนดูข้อมูลใด ๆ  ก็ตามในอีกเฟรมหนึ่ง  การแยกระบบเนวิเกชันบาร์ออกจากหน้าข้อมูลในลักษณะนี้  จะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงระบบเนวิเกชันได้ตลอดเวลา  และยังคงความสม่ำเสมอทั่งทั้งเว็บไซต์

        อย่างไรก็รตาม  การใช้เฟรมในระบบเนวิเกชันนั้น  สร้างปัญหาที่สำคัญอีกหลายประการ  อาทิเช่น

1.    การครอบครองพื้นที่หน้าจอตลอดเวลา

2.    รบกวนการทำงานของบราวเซอร์

3.    ทำให้เวลาในการแสดงผลช้ายิ่งขึ้น

4.    ต้องใช้การออกแบบที่ซับซ้อน

คุณสมบัติสำคัญของระบบเนวิเกชั

        ในปัจจุบันแม้ว่าจะมีโปรแกรมที่ใช้ช่วยในการสร้างเว็บไซต์มากมาย  แต่ก็ไม่มีโปรแกรมไหนที่จะช่วยสร้างระบบเนวิเกชันให้คุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การใช้คุณสมบัติพิเศษ On Mouse Over  หรือ Image Map  ก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้มากนัก   ในการออกแบบเว็บไซต์ต้องรู้หลักนการสร้างเนวิเกชันที่เหมาะสม  เพื่อจะสื่อถึงเนื้อหาได้อย่างชัดเจนและน่าสนใจ  จากนั้นจึงใช้โปรแกรมต่าง ๆ  ช่วยสร้างสิ่งเหล่านั้นให้สำเร็จขึ้นมา  คุณสมบัติของระบบเนวิเกชันทั้ง 10 ประการต่อไปนี้  ไม่ได้รวมกันเป็นสูตรสำเร็จแต่อย่างใด  แต่จะเป็นส่วนช่วยให้เข้าใจในหลักการ  และนำไปใช้ในการะบวนการออกแบบได้อย่างดี

ระบบเนวิเกชันที่มีประสิทธิภาพ  ควรมีคุณสมบัติดังนี้

o        เข้าใจง่าย

o        มีความสม่ำเสมอ

o        มีการตอบสนองต่อผู้ใช้

o        มีความพร้อมและเหมาะสมต่อการใช้งาน

o        นำเสนอหลายทางเลือก

o        มีขั้นตอนสั้นและประหยัดเวลา

o        มีรูปแบบที่สื่อความหมาย

o        มีคำอธิบายที่ชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย

o        เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์

o        สนับสนุนเป้าหมายและพฤติกรรมของผู้ใช้


****************************************************


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น